บริษัทขอยกตัวอย่างกรณีที่เกิดขึ้นจริงของประเทศศรีลังกาเพื่อเป็นอุทธาหรณ์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เราได้ข่าววิกฤติพลังงานและการขาดความมั่นคงทางอาหารของศรีลังกา ซึ่งเป็นวิกฤติครั้งใหญ่สุดของประเทศนี้ จากผลกระทบจาก COVID19 สงครามรัสเซีย-ยูเครน และส่วนหนึ่งจากการที่ผู้นำประเทศต้องการปฏิวัติอาหารให้เป็นออร์แกนิก100% ประเทศแรกของโลก โดยไม่รับฟังการคัดค้านของภาคเกษตรกร ความพยายามในเรื่องนี้ของรัฐบาลกลับคุกคามอุตสาหกรรมชาที่เป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศโดยเริ่มจากการประกาศห้ามใช้ปุ๋ย ในชา อบเชย พริกไทย ข้าว และพืชอาหารประเภทอื่นๆ ตามด้วยห้ามการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2564 เป็นต้นมา เกษตรกรรายใหญ่ชี้แจงว่าต้นทุนในการปลูกพืชผลออร์แกนิกสูงกว่าต้นทุนในการเพาะปลูกทั่วไปถึง 10 เท่าและตลาดยังมีจำกัด การเปลี่ยนไปปลูกพืชเกษตรไปเป็นออร์แกนิกทั้งหมด ประเทศจะสูญเสียผลผลิตประมาณ 50% และไม่สามารถขายพืชผลในราคาที่สูงขึ้น50% ได้ และพืชผักออร์แกนิกบริโภคในวงแคบสำหรับผู้ที่มีกำลังซื้อเท่านั้น
แถลงการณ์จากสมาคมเจ้าของโรงงานผลิตชาในศรีลังกา ชี้ให้เห็นว่า นอกจากการสูญเสียรายได้แล้ว ปัญหาที่เกิดจากเรื่องนี้คือคนตกงานเพราะการเก็บใบชายังคงต้องอาศัยแรงงานมนุษย์ การล่มสลายของธุรกิจชา ทำให้แรงงานประมาณ 3 ล้านคนอยู่ในฐานะเสี่ยงตกงานและตกงานสมบูรณ์
การส่งออกอบเชยและพริกไทยของศรีลังกาจะได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้ด้วยเพราะ ศรีลังกาเป็นผู้จัดหาอบเชยให้แก่ตลาดโลกในสัดส่วน 85%
นอกจากปัญหาผู้คนตกงานแล้ว นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2521 เป็นต้นมา ปัญหาการขาดแคลนอาหารในประเทศทวีความรุนแรง ราคาข้าว, ผัก สูงขึ้นเท่าตัวทั่วประเทศ ซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ ต้องปันส่วนขายข้าวสารโดยอนุญาตให้ซื้อได้คนละ 5 กิโลกรัม จากประเทศเคยพึ่งพาตัวเองสามารถเพาะปลูกเพียงพอการบริโภคในประเทศ กลับต้องรับบริจาคข้าวจากจีน 1 ล้านตัน และรัฐบาลต้องหันไปซื้อข้าวจากเมียนมาทั้งที่รัฐขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง
นี่จึงเป็นวิกฤติที่ไม่มีใครอยากให้เกิดจากการบริหารผิดพลาดจนทำให้ขาดความมั่นคงทางอาหารซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต
บริษัทไม่มีนโยบายในการขยายตลาดไปยังประเทศเพื่อนบ้านเนื่องจากปัญหาเรื่อง กฏระเบียบการขึ้นทะเบียนในแต่ละประเทศ ค่อนข้างลำบากในการเตรียมหาข้อมูลเนื่องจากบริษัทพาโตเป็นเพียงผู้ผสมปรุง แต่ง (Formulator) ไม่ใช่ผู้ผลิตสารตั้งต้น (Technical Grade Manufacturer) จึงทำให้มีข้อมูลในการขอขึ้นทะเบียนได้ไม่ครบถ้วน นอกจากนี้พบว่าการค้าผลิตภัณฑ์เคมีเกษตรของประเทศเพื่อนบ้านมี
ผลิตภัณฑ์ปลอม และไม่ได้มาตรฐานจำนวนมาก รวมถึงมีการแข่งขันด้านราคาสูงจึงไม่เป็นตลาดที่น่าสนใจ
ผลิตภัณฑ์ ของบริษัทฯ ครอบคลุมในพืชหลัก หรือพืชเศรษฐกิจทั้งหมด เช่น ข้าว, พืชไร่, พืชสวน ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ยกเว้น ผัก ไม้ดอกและ ไม้ประดับ ซึ่งบริษัทฯ มิได้เน้นมาตั้งแต่อดีตและไม่มีนโยบายในอนาคต
บริษัทฯ ยังคงเน้นและเพิ่มผลิตภัณฑ์ในพืชหลัก คือ ข้าว เนื่องจากเป็นพืชเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก เปรียบเสมือนครัวโลก อีกทั้งเป็นข้าวที่มีชื่อเสียงโดยเฉพาะ ข้าวหอมมะลิ 105 ในเชิงธุรกิจถือว่า เป็นพืชที่ไม่มีความผกผัน มีความหลากหลายในการใช้ผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่เริ่มเตรียมดิน จนกระทั่ง เก็บเกี่ยว อีกทั้งรัฐบาลยังเข้ามาประกันราคา ในแต่ละปี
ทางบริษัทไม่ได้เป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายปุ๋ย หากแต่บริษัทเป็นผู้นำเข้าและจำหน่าย เคมีเกษตร(สารกำจัดวัชพืช สารกำจัดศัตรูพืช สารกำจัดเชื้อรา) จากจีนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาจีนไม่มีนโยบายงดการส่งออก เพียงแต่ราคาปรับขึ้นมามาก ตามมาตรการณ์คุมเข้มการใช้พลังงานในจีน อีกทั้งต้นทุนค่าระวางเรือขนส่ง และน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทลดลง เนื่องจากไม่สามารถปรับราคาขายขึ้นให้เพียงพอต่อการชดเชยต้นทุนสินค้าที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นสินค้าควบคุม ประกอบกับการแข่งขันทางด้านราคาในตลาดที่รุนแรงขึ้น
พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย ปลูกข้าวมากที่สุด
ต้องขออภัยที่จะแจ้งว่าช่วงนี้บริษัทยังไม่มีนโยบายให้ผู้ถือหุ้นเข้าเยี่ยมชมกิจการ เนื่องจากความไม่สะดวกหลายประการ หากบริษัทมีความพร้อมที่จะให้เข้าเยี่ยมชมจะแจ้งให้ทราบในภายหลัง
เปิดโอกาสให้ซักถามทุกครั้ง ตามที่เวลาอำนวย
ไม่น่าจะใช้คำว่าแพ้ยี่ห้ออื่นที่มาจากต่างประเทศ เพราะ Product ต่างกัน เนื่องจากบริษัทข้ามชาติ เช่น Syngenta, Bayer, หรือ Dupont เน้น Specialty products หรือ Proprietary Products คือเป็นยาที่คิดค้นเอง ผลิตเอง ไม่มีคู่แข่ง ซึ่งบริษัทในประเทศไม่สามารถแข่งได้เลย
นอกจากนี้บริษัทข้ามชาติจะใช้กลยุทธ Pull Strategy คือ เน้น สื่อแบบ Mass Media เช่น โฆษณา TV, วิทยุ หรือ Sponsor มวย เพื่อดึงดูด ผู้ใช้ให้เข้ามาซื้อสินค้าจาก dealer ของเขา ขณะที่บริษัท local จะเน้นขาย Commodity product หรือ Generic Product เป็นหลักและไม่มีงบประมาณส่วนนี้มากเท่าบริษัทข้ามชาติ จึงเน้น Push Strategy มากกว่า Pull Strategy คือ ผลักให้ wholesaler และ dealer ช่วยผลักดันสินค้าให้ โดยให้ผลประโยชน์กับ Wholesaler และ dealer มากขึ้น
ส่วนใหญ่จะติด brand ชอบใช้ยี่ห้อเดิมๆ นอกจากจะมีปัญหาเรื่องราคาหรือเรื่องคุณภาพจริงๆ
เกษตรกรจึงเลือกใช้สินค้าที่ราคาไม่แพงและคุณภาพนิ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ PATO ทำมาตลอดตั้งแต่แรกคือ เน้นเรื่องความนิ่งของคุณภาพ
ลดลงเนื่องจาก ฝนมาเร็วและมาแรงกระทันหัน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลหยุดการระบาด ดังนั้นจากนี้ไป จึงควรจะเป็นฤดูการใช้ยาฆ่าหญ้า ซึ่งบริษัทยังได้รับการอนุมัติทะเบียนไม่ครบ
• บริษัทไม่สามารถทำอะไรได้มากไปกว่าติดตามการขึ้นทะเบียนทุกขั้นตอน เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถขึ้นทะเบียนได้เร็วขึ้น
ช่วง High Season คือ เมษายน- สิงหาคม (+- 1 เดือน) ช่วง Low Season คือ กันยายน – มีนาคม (+- 1 เดือน)
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณฝน สภาวะแล้ง และการระบาดของแมลง หรือโรคพืช
ใช่
– เพื่อลดความเสี่ยง แต่ไม่ได้หมายความว่าทางบริษัทจะเน้นการขายไปทางด้านไม้ผล เพราะบริษัทมิได้มีการขายตัวยาที่เน้นไปทางด้านไม้ผลโดยเฉพาะ
ตัวยาที่มีค่าใช้จ่ายการขึ้นทะเบียน 1 ล้านบาทคือตัวยาที่ทางบริษัทจะนำเข้ารูปแบบ Technical Grade เพื่อที่จะเข้ามา Formulate เอง แต่ถ้าเป็นการจดทะเบียนแบบ Finished Product ก็จะอยู่ประมาณ 3-4 แสนบาท
ถูกต้อง การจดทะเบียนยานั้นไม่ยากขอให้มีเงิน และเมื่อจดทะเบียนยาแล้วไม่ได้หมายความว่าบริษัทนั้นจะขายยาได้เพราะการขายยาเคมีเกษตรจะขึ้นอยู่กับ Brand เป็นหลัก มิใช่ว่าบริษัทอื่นจะขึ้นทะเบียนยาได้ ขายถูก จะทำให้ได้ส่วนแบ่งทางการตลาด เพราะว่าการขายยาจะขึ้นอยู่กับความมั่นใจในคุณภาพ, ความสัมพันธ์กับลูกค้า และที่สำคัญคือ Brand Loyalty
บริษัท พาโตมิได้นำเข้าและจำหน่ายปุ๋ย จึงไม่ได้รับผลกระทบจากราคาปุ๋ยร่วงลงอย่างหนักแต่เคมีเกษตรหลายตัวที่บริษัทจำหน่ายมีแนวโน้มราคาอ่อนตัวในไตรมาส 2 จึงทำให้การแข่งขันด้านราคารุนแรงกว่าภาวะปกติจึงกดดันอัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทพอสมควร แต่กระทบผลประกอบการเพียงใดนั้น บริษัทยังไม่สามารถเปิดเผยได้เพราะยังมิได้ประกาศผลประกอบการอย่างเป็นทางการกับตลาดหลักทรัพย์จึงขอให้รอประกาศในวันพรุ่งนี้ ที่ 11 สิงหาคม 2566
การกล่าวถึง นาน้ำท่วมเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวไม่ปรากฏขึ้นกับการทำนาในประเทศไทยและทฤษฎีดังกล่าวคงไม่เหมาะสมกับสภาพทางทรัพยากรและการชลประทานด้านน้ำของประเทศไทยเพียงแต่การทำนาของประเทศไทยเรานั้นมีแนวทางปฎิบัติในรูปแบบการนำเอาน้ำเข้านา และออกจากนาเป็นช่วงๆของการปลูกข้าวใน 1 รอบฤดูเพื่อวัตถุประสงค์ในการฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืชจำพวกวัชพืชและหนอนแมลง การใส่ปุ๋ยและยังรวมหมายถึงการไขน้ำเข้าและออกจากนาเพื่อความเหมาะสมกับความต้องการของต้นข้าวในช่วงอายุข้าวที่ต่างกันค่ะ
*นโยบายการเก็บข้อมูลส่วนตัว* บริษัทมิได้ใช้ Cookie บนเว็ปไซต์นี้ ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัวของบริษัทจากเว็บไซต์นี้ภายใต้หัวข้อ “นโยบายความเป็นส่วนตัว”